วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

ตรวจนับสินค้าไปทำไม??!!



ตรวจนับสินค้าไปทำไม??!!

ในการนับสินค้า ก็เพื่อตรวจสอบว่าสินค้าที่เรามีนั้น มีอะไรบ้าง เหลือเท่าไหร่ ตรงกันกับจำนวนที่เรารับเข้า จ่ายออกหรือไม่ ไม่ใช่เพียงแค่นับว่าสินค้าเราเหลืออยู่เท่าไร่แล้วแก้ไขให้ตรงกับที่บันทึก ซึ่งนั่นเท่ากับว่า เราไม่สนใจความถูกผิดของจำนวนสินค้าในสต๊อก ไม่ได้หาสาเหตุของจำนวนสินค้าที่ไม่ถูกต้อง และไม่ได้หาทางป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นอีก
การที่สินค้าที่เรานับได้ไม่ตรงกับปริมาณคงเหลือจากการบันทึก มีผลอย่างไร แล้วเราต้องใส่ใจกับมันด้วยหรือ
ตอบง่าย ๆ แบบไม่ใช่กำปั้นทุบดินก็คือ เงินคุณหายไปจากกระเป๋าไง ไม่ว่าจะเป็น
สินค้าที่นับได้ น้อยกว่าที่ควรจะเป็น แสดงว่า ของหาย เพราะถ้าบันทึกถูกต้อง รับเข้า จ่ายออก หักลบแล้ว มันควรเหลือตามที่บันทึก  แต่เหตุไฉน ของที่นับได้ถึงเหลือน้อยกว่า นั่นก็เพราะมีการหยิบไปเกิน หรือมีขโมย!!! หรือ
สินค้าที่นับได้ มากกว่าที่ควรจะเป็น ดูเหมือนว่าจะดี เพราะยังมีของอยู่ ของไม่หาย แต่ลองคิดดี ๆ ว่า ของที่มีมากกว่าที่บันทึก อาจจะหมายถึงการที่คุณหยิบสินค้าส่งให้ลูกค้าไม่ครบจำนวนที่ลูกค้าสั่งมา หรือมีการหยิบสินค้าผิด หยิบตัวอื่นไปส่งให้ลกค้าแทน ลุกค้าได้สินค้าไม่ใช่ตามที่สั่ง ซึ่งทั้งสองอย่าง ไม่ส่งผลดีต่อบริษัทแน่นอน จริงมั้ย
ดังนั้นแล้ว การนับสินค้าแต่ละครั้ง อย่าเพียงแค่นับแล้วเทียบกับที่บันทึก จากนั้นก็แก้ไขให้ตัวเลขตรงกัน แต่ให้วิเคราะห์หาสามเหตุของปัญหา แล้วหาทางป้องกันไม่ใช่เกิดขึ้นอีกในการนับครั้งหน้าด้วย
คำถาม ความถูกต้องของสินค้าคงคลังควรเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าเทียบกับที่เราบันทึกไว้
คำตอบ ถ้าคุณไม่อยากให้เงินหาย ลูกค้าหด เปอร์เซ็นต์ความถูกต้องของสินค้าคงคลัง คือ 100% นั่นคือ จำนวนที่นับได้ ต้องเท่ากับที่บันทึก
ครั้งต่อไป จะมาบอกเล่าถึงวิธีการทำอย่างไรให้ความถูกต้องของสินค้าคงคลังเป็น 100%

กูรู้ กูรู ลอจิสติกส์ โดย อ.อินทิรา สิทธิเวช

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

Attendance ของลูกน้อง สำคัญมากแค่ไหน


เรื่องเก่า เล่าใหม่
*******************
Attendance ของลูกน้อง สำคัญมากแค่ไหน

วันนี้เจอเคสที่หัวหน้างานระดับผู้จัดการไม่ทราบว่าลูกน้องหายไปไหน ลูกน้องมาทำงานไม่ครบลูกน้องไม่ลา พอเลยเวลาทำงาน ผู้จัดการไม่โทรตาม HR ถามก็ตอบว่าคงมาสาย แต่พอ HR โทรเช็ค ปรากฏว่าพนักงานขอลากะทันหัน ลูกน้องที่เหลือที่หายไป ผู้จัดการบอกไม่ได้ แต่ให้ HR ไปถามเพื่อร่วมทีมของพนักงานคนนั้น

นี่เป็นสิ่งที่องค์กรต้องการจากผู้จัดการหรือคนที่เป็นหัวหน้างานใช่หรือไม่???

หน้าที่หนึ่งของหัวหน้างาน คือการควบคุมและวางแผนการมาทำงานของลูกน้อง หัวหน้าที่ไม่รู้เลยว่า วันนี้ ลูกน้องมาทำงานครบทีมหรือไม่ พอ HR ตรวจสอบ กลับตอบไม่ได้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นในคนที่เป็นหัวหน้างาน

การตรวจสอบการมาทำงานในแต่ละวันของลูกน้อง

1. เพื่อรู้ถึงพฤติกรรมและวินัยในการทำงานของลูกน้อง
2. ลูกน้องคนไหนไม่มา หัวหน้างานควรสามารถวางแผนล่วงหน้าในการหาผู้ทำงานทดแทน เพื่อไม่ให้งานชะงัก
3. กรณีไม่รู้ล่วงหน้า เป็นการลากะทันหัน หัวหน้างานควรทราบถึงขั้นตอน กฎในการติดตามพนักงาน เช่นโทรศัพท์ติดตาม
4. หากพนักงานไม่สามารถทำงานทดแทนกันได้เนื่องจาก work load หัวหน้าควรแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการจัดลำดับความสำคัญของงาน เพื่อลด work load และ focus ที่งานเร่งด่วน

หัวหน้าที่ดีควรจะให้คำตอบแก่ HR แล้วว่า พนักงานคนไหนลา คนไหนขาด มาตรการลงโทษทางวินัยสำหรับลูกน้องที่ไม่ลาล่วงหน้า หรือไม่แจ้งให้ทราบ มิใช่อาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือการอะลุ้มอล่วยด้วยการปิดตา 1ข้าง แต่ละเลยผลกระทบต่อองค์กร

เพราะมันจริง จึงบอกต่อ

กูรู้ กูรู ลอจิสติกส์ โดย อ.อินทิรา สิทธิเวช
https://www.facebook.com/LogisticsGooRoo