ปัญหาที่หลาย ๆ คนกำลังประสบอยู่ไม่ใช่เพียงแค่ไม่รู้ว่าคลังมีปัญหา กลับเป็นว่า รู้ว่ามีปัญหา แต่ไม่รู้จะเริ่มแก้ปัญหายังไง
วิธีการแก้ปัญหาแบบง่าย ๆ คือการทำ ส. ตัวแรก ใน 5 ส. นั่นคือการสะสาง และค่อยทำสะดวกแล้วจึงสะอาด
สะสางในที่นี้คือการแจกแจงงานที่ทำอยู่ตอนนี้ พื้นที่ที่เราใช้งานทุกวัน มองมันออกมาให้เห็นภาพว่าเราทำอะไรกันอยู่ ถูกผิดไม่ว่ากัน แต่เอาที่ทำงานตามจริง
จากนั้นค่อยมาจัดหมวดหมู่งาน ไม่ว่าจะเป็นหมวดหมู่สินค้า หรือหมวดหมู่ของสถานที่เก็บ จะเก็บอะไรตรงไหนที่ทำให้เราสะดวกในการเข้าถึง ไม่ใช่พอระบุที่เก็บแล้ว แต่หยิบของกันยากเหลือเกิน อันนี้ ก็แทนที่จะแก้ปัญหา กลับเพิ่มปัญหา แล้วที่สุด ก็กลับไปสู่วงจรเดิม ๆ
หากเจอปัญหา ก็ขอให้เป็นปัญหาใหม่ ๆ ที่ทำให้เราได้ทำ "Kaizen" กันมากกว่า "ใครเซ็ง"
เมื่อสะสางและเห็นทางสะดวกในการทำงานและสร้างความสะอาดของคลัง ก็มาลงมือเขียนกระบวนการทำงานที่ใช่สำหรับคลังของเรา (ไม่ใช่คลังของใคร)
อย่าเอากระบวนการคนอื่นมาใช้กับเราโดยไม่ดูตัวเราเอง เพราะเราทำงานไม่เหมือนกัน ขอให้ตั้งเป้าหมายสำคัญในการจัดทำกระบวนการ คือการตอบสนองลูกค้าให้ได้ 4 ถูก คือถูกต้อง ถูกที่ ถูกเวลา และถูกใจ
การปรับปรุงสินค้าในคลัง ไม่สามารถทำได้คนเดียว หรือแค่ทีมเดียว แต่ต้องเป็นความร่วมมือของทุกฝ่าย ไม่เฉพาะฝ่ายคลัง แต่หมายถึงคนอื่น ๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับคลังด้วย เข้านอกออกใน ทำให้ถูกกฏระเบียบ
ซึ่งเป็น ส. สุดท้ายที่ทำให้การปรับปรุงไม่จบไม่สิ้น ส.นิสัย นั่นเอง
แต่อยากจะบอกว่า อย่าเพิ่งไปกลัว ส. สุดท้าย ขอแค่ให้เริ่มทำ 3 ส. แรกให้ได้ก่อน
เพราะถ้าไม่เริ่มนับ 1 ก็ไม่มีวันนับถึง 10
กูรู้ กูรู ลอจิสติกส์ โดย อ.อินทิรา สิทธิเวช
https://www.facebook.com/LogisticsGooRoo
https://www.facebook.com/LogisticsGooRoo
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น